โรคสมองพิการในเด็ก ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ brain insults in immature brain, static brain lesion และ musculoskeletal involvement ทั้งนี้ เด็กจะมี "อาการ" แสดงมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น เนื่องจาก มีการเจริญเติบโตของกระดูก กล้ามเนื้อ และเอ็น ส่วนใหญ่มักเป็นชนิด spastic diplegic การรักษาขึ้นกับปัญหาที่ตรวจพบ มีตั้งแต่ rehabilitation, medication และ surgery นอกจากนี้ การดูแลผู้ป่วยแบบ holistic approach โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ก็เป็นสิ่งสำคัญ
โรคกระดูกเปราะพันธุกรรม เกือบ 90% เกิดจากความผิดปกติในการสร้าง collagen type I โดยยีนส์ COL1A1 และ COL1A2 ทำให้กระดูกมีโครงสร้างที่ไม่แข็งแรง หักง่าย ในปัจจุบันมีมากกว่า 10 ชนิด แต่มีชนิดหลัก 4 ชนิด (OI type I, II, III, และ IV) โดยชนิดที่ I จะมีความรุนแรงน้อยสุด ส่วนชนิดที่ II จะรุนแรงมากที่สุด (lethal type) การรักษา ได้แก่ การป้องกันกระดูกหัก (rehabilitation, การให้ยา bisphosphonate) และการแก้ไขการผิดรูปและรักษากระดูกที่หัก
เป็นกระดูกหักที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็ก โดยอาจหักบริเวณ metaphysis หรือเป็น physeal injury ก็ได้ ส่วนใหญ่รักษาด้วยวิธีอนุรักษ์
Supracondylar fracture บริเวณ elbow ถือเป็น fracture around the elbow ที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็ก โดยมากเป็น extension type และแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด ตาม Gartland classification ทั้งนี้ Gartland 1-2 สามารถให้การรักษาด้วยการ closed reduction แล้วใส่ long arm cast ได้ ส่วน Gartland 3-4 ต้องรักษาด้วยการทำ closed reduction และ pinning ร่วมกับ long arm cast
การวินิจฉัย isolated pyomyositis ในเด็ก โดยที่ไม่มี external cause ให้พึงระวังไว้เสมอว่า มีโอกาสเป็น hematogenous osteomyelitis ที่ลุกลามมายังชั้นกล้ามเนื้อ
เป็นการทำ pelvic reconstruction ชนิด re-shape เนื่องจากทำให้ acetabular volume ลดลง และทำให้เกิด femoral coverage ที่เพิ่มมากขึ้น โดยการตัดเหนือ AIIS พุ่งไปทาง greater sciatic notch และใช้ tri-radiate cartilage เป็น hinge
Distal femoral physis มีลักษณะทางกายวิภาคที่พิเศษ นั่นคือ มีลักษณะเป็น "คลื่น" (undulated) ทำให้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้มากกว่า physis บริเวณอื่นๆ ดังนั้น แม้เพียง Salter-Harris type II ก็อาจทำให้เกิด growth arrest ได้
มีแนวทางการรักษา ขึ้นกับอายุ และลักษณะการหัก ปัจจุบัน ใช้แนวคิดการแบ่งความ "ยุ่งยาก" ในการรักษา คล้ายการล่องแก่ง เป็น 5 ระดับ โดย class 1 คือ fracture ที่อาจใช้เพียง splint ไปจนถึงระดับ 5 (limb at risk) ซึ่งอาจต้องรักษาแบบ 2-stage operation และ damage controlled orthopedic (DCO)